โครงการวิจัยเชิงนโยบาย
การพัฒนายุทธศาสตร์และแผน
ดำเนินการวิจัยและให้คำปรึกษาเชิงนโยบาย โดยคำนึงถึงแนวโน้มในอนาคต (Foresight) และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง (Design Thinking) สำหรับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนปฏิบัติการ หรือทิศทางการขับเคลื่อนประเทศในประเด็นด้านทุนมนุษย์ เช่น
-
โครงการวิเคราะห์ภาพอนาคตระบบสาธารณสุขของประเทศไทย (สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข)
-
กิจกรรมสัมมนาเชิงปฎิบัติการเพื่อพัฒนาภาพอนาคตแนวโน้มปัจจัยเสี่ยงทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อการสร้างเสริมสุขภาวะของประเทศ (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ)
-
โครงการทบทวนและปรับปรุงแผนปฏิบัติการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประเทศ ระยะ 20 ปี พ.ศ. 2561-2580 (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)
-
โครงการการคาดการณ์อนาคตเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติราชการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระยะที่ 5 พ.ศ. 2566-2570 (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
-
โครงการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพจิตแห่งชาติ ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2561-2580 ระยะที่ 2 พ.ศ. 2566-2570 (กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข)
-
การจัดกระบวนการพัฒนาแผนปฏิบัติการด้านการป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพของประเทศ ระยะสร้างความเข้มแข็ง พ.ศ. 2566 - 2570 (กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข)
-
การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี พ.ศ. 2565-2569 "การป้องกันควบคุมโรคและภัยสุขภาพ ภายใต้โลกแห่งความผันผวน: VUCA World" (สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช)
ข้อเสนอแนะของโครงการดังกล่าว ถูกใช้เป็นกรอบในการกำหนดยุทธศาสตร์ และแผน รวมทั้งได้รับการขับเคลื่อนสู่แผนระดับกระทรวง
การพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมเชิงนโยบาย
เปิดพื้นที่ในการร่วมออกแบบนวัตกรรมเชิงนโยบายอย่างสร้างสรรค์ ผ่านการทำความเข้าใจบริบทของปัญหาอย่างลึกซึ้ง การมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ผู้เชี่ยวชาญ และประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เกิดนโยบายที่สอดคล้องกับประเด็นปัญหาด้านทุนมนุษย์ของพื้นที่อย่างเท่าทันสถานการณ์ เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน ตัวอย่างโครงการ เช่น
-
โครงการจัดทำข้อเสนอนวัตกรรมเชิงนโยบายด้านสาธารณสุข Policy Innovation Lab of Public Health (สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข)
-
โครงการสะกิดพฤติกรรมเพื่อการขับขี่ปลอดภัย Nudge Bootcamp for Road Safety (innowhale และ Nudge Thailand)
ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้รับผลการถอดบทเรียนจากการพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมเชิงนโยบายกับกลุ่มเป้าหมาย เกิดการต่อยอดและขยายผลในพื้นที่ที่มีบริบทใกล้เคียง
การพัฒนายุทธศาสตร์ แผน และระบบนิเวศเชิงนโยบาย
ด้วยสถานการณ์และปัญหาความท้าทายที่หลากหลาย การออกแบบนโยบายและขับเคลื่อนงานเพื่อสร้างสังคมที่เสมอภาคแบบเดิมอาจไม่สามารถตอบโจทย์ได้ หนึ่งในแนวคิดและวิธีการกำหนดนโยบายด้วยแนวทางใหม่ ๆ ที่ได้รับความนิยมคือแนวคิดห้องปฏิบัติการนโยบาย (Policy Lab) และการคาดการณ์อนาคต (Foresight) เพื่อสร้างสรรค์ยุทธศาสตร์และแผนที่ตอบโจทย์ความต้องการของประชาชน และความท้าทายของเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตได้อย่างทันท่วงที ตัวอย่างโครงการ ได้แก่
-
โครงการกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนงานของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ภายใต้ความท้าทายที่หลากหลาย (สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
-
โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนปฏิบัติราชการกองต่อต้านการค้ามนุษย์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 - 2570 (กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
-
Strategic Foresight กับการพัฒนาวิสัยทัศน์ก้าวไกลทั้งองค์กร (กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์)
-
Strategic Foresight กับการพัฒนาระบบนิเวศเศรษฐกิจอวกาศ (สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ)
-
Board Visioning Workshop เพื่อการจัดทําแผนยุทธศาสตร์สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2565-2567 (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ )
-
ตลาดทุนของทุกคน Capital Market of ALL (กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน)
-
โครงการจัดทําสมุดปกขาว : กลไกการส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจเพื่อสังคมเพื่อสร้างความยั่งยืนในท้องถิ่นด้วยการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ)
หน่วยงานในระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องกับโครงการดังกล่าว เกิดการต่อยอดจากผลการศึกษาวิจัยและข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย นำไปสู่การพัฒนามาตรการ โครงสร้างพื้นฐาน องค์กร และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง
การประเมินและถอดบทเรียนเพื่อขยายผลโมเดลแก้จน
ความยากจนนับเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ThailandFuture จึงทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในการสร้างความตื่นตัวให้เกิดขึ้นในสังคม ผ่านการศึกษาวิจัยเพื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์ ตรวจประเมิน และถอดบทเรียนโมเดลแก้จนเพื่อการขยายผล จากโมเดลที่ดำเนินการแก้ไขปัญหาความยากจนได้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ตัวอย่างโครงการ อาทิ
-
โครงการเตรียมความพร้อมและปรับปรุงหลักเกณฑ์ในการตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมประเภทร่วมใจแก้จน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง)
-
โครงการตรวจประเมินรางวัลเลิศรัฐ สาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมประเภทร่วมใจแก้จน (สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง)
-
โครงการยกระดับการพัฒนาระบบราชการสู่ความเป็นเลิศ การขยายผลรางวัลเลิศรัฐ (สถาบันส่งเสริมการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี สำนักงาน ก.พ.ร.)
โครงการเหล่านี้เปิดโอกาสให้หน่วยงานระดับท้องถิ่นเกิดความตื่นตัว และเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาความยากจนในพื้นที่ ทั้งยังเกิดการถอดบทเรียนและขยายผล "โมเดลแก้จน" ไปยังพื้นที่อื่น ๆ ของจังหวัดต่อไป
การเพิ่มประสิทธิภาพความสะดวกในการประกอบธุรกิจ
องค์ประกอบสําคัญของการขับเคลื่อนการอํานวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ คือการบริการภาครัฐ ThailandFuture จึงดำเนินการศึกษาวิจัยสภาพแวดล้อมของการให้บริการภาครัฐ และพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ซึ่งช่วยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีข้อมูลในการออกแบบ และพัฒนาการให้บริการภาครัฐได้อย่างมีประสิทธิภาพ และตอบสนองต่อความต้องในการประกอบธุรกิจ ตัวอย่างโครงการ เช่น
-
โครงการการคาดการณ์สภาพแวดล้อมการให้บริการภาครัฐรายด้าน เพื่อกำหนดนโยบายและอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (สำนักงาน ก.พ.ร.)
-
การพัฒนาระบบการให้บริการของหน่วยงานของรัฐเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ Doing Business Surveys (สำนักงาน ก.พ.ร.)
การพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมเชิงนโยบาย
แพลตฟอร์มนโยบายเป็นหัวใจสำคัญในการร่วมสร้างนโยบายสาธารณะที่ดี โดยรวมพลังปัญญาจากคนทุกภาคส่วน ผสานกับความสร้างสรรค์ ThailandFuture จึงเปิดพื้นที่ในการร่วมคิดร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่จะช่วยพัฒนาการให้บริการของภาครัฐ เช่น ระบบกลางของประเทศที่รวบรวมงานบริการภาครัฐ (Citizen Portal) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนในการติดต่อขอรับบริการผ่านช่องทางออนไลน์ โดยประยุกต์ใช้ Data Analytics และ AI เพื่อช่วยให้ประชาชนได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว เหมาะสมกับสิทธิที่พึงได้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ตัวอย่างโครงการ ได้แก่
-
ที่ปรึกษาพัฒนานวัตกรรมงานบริการภาครัฐ โครงการพัฒนานวัตกรรมงานบริการภาครัฐ พ.ศ. 2564 และ 2565 (สำนักงาน ก.พ.ร.)
-
MY BETTER COUNTRY HACKATHON (สำนักงาน ก.พ.ร.)